วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ขนมไทย

   เรื่อง ....ขนมไทย

 ประเภท    โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
รหัสวิชา     ง21101

ชื่อผู้ทำโครงงาน   กลุ่ม  1   กลุ่ม  ICT   หน้าที่

เด็กหญิงปิ่นสุดา      สืบเสาะเสมอ              หัวหน้า

เด็กหญิงจันธิดา       อนุไวยา                  รองหัวหน้า

เด็กหญิงสุวนันท์       บุญเจริญ                พิมพ์งาน

เด็กหญิงลักษมี         พอกกล้า                 ประเมินผล

เด็กหญิงวริศรา       เผ่าพันธุ์                    นำเสนอ
เด็กหญิงศศิธร         เพียรมี                    นำเสนอ     
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1
 รงเรียนรามวิทยา  รัชมังคลาภิเษก 
ต.ราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ 
.แนวคิด  ที่มา   และความสำคัญ
          เนื่องจากสังคมไทยใน ปัจจุบันผู้คนส่วนมากต่างก็หลงลืมขนมไทยโบราณต่างๆ ซึ่งเป็นขนมที่อยู่คประเทศไทยมาแต่โบราณ ดังนั้นเราจึงขอเป็นตัวแทนในการอนุรักษ์ขนมไทย ด้วยการทำการเผยแพร่ผ่านบล็อกเล็กๆของเรา ซึ่งเราจะนำเสนอในเรื่องของวิธีการทำขนมในแต่ละชนิด ความหมายของขนมไทย ขนมไทยที่ขึ้นชื่อในแต่ละภาค พร้อมกับรูปภาพสวยๆ ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเราจะเกิดความ รู้สึกรัก ชื่นชมในขนมไทย และอยากที่จะอนุรักษ์ขนมไทยของเราให้คงอยู่คู่กับประเทศไทยตไป โดยไม่สูญหายไปตามกาลเวลา
.วัตถุประสงค์
       ๑.เพื่อต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของขนมไทย 
       ๒.เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำขนม 
     ๓.เพื่อต้องการสืบสานและอนุรักษ์ขนมไทยให้เป็นที่รุ้จักและแพร่หลายมากยิ่งขึ่น
 .หลักการและ ทฤษฎี
. เพื่อสื่อการศึกษา
     ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ งาน 
 แต่ง เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคน 
 อาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น  ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่อง 
 ในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก  ขนมถ้วย  ฯลฯ  ส่วนขนมในรั้วในวังจะมี
 หน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงามขนมไทยที่นิยมทำ
กันทุกๆ ภาคของประเทศไทย  ในพิธีการต่างๆ  ก็คือขนมจากไข่   และเชื่อกันว่าชื่อและ 
ลักษณะของขนมนั้นๆ    เช่น    รับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุ 
ยืนรับประทาน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน รับประทาน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ   
รับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการพิมพ์ตำรา 
อาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการ 
บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ในสมัย 
ต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย และนับว่าเป็นยุคที่ขนมไทย 
เป็นที่นิยม

๔.ผลที่คาดว่าจะได้รับ


1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเป็นบทเรียนเรื่องวิธีการทำขนม
2.ได้รับความสนใจกับบุคคลทั่วไป                        
3.ผู้เข้าชมได้รับความรู้เกี่ยวกับขนมไทย                    
4.สามารถทำให้ผู้เข้ารับชมเห็นคุณค่าและรู้จักอนุรักษ์ขนมไทยให้คงอยู่กับวัฒนธรรมไทย









 
.